27.8.53

อุทยานหิน Fossil Park แม่สะเรียง

อุทยานหินฟอสซิล 400 ล้านปี ที่แม่สะเรียง
พบฟอสซิลที่บ้าน"ดงสงัด"เพิ่มที่เที่ยวด้านธรณีวิทยา แม่ฮ่องสอน - จังหวัดแม่ฮ่องสอนเตรียมผลัดดัน "บ้านดงสงัด" เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านธรณีวิทยา หลังพบฟอสซิลซากสัตว์ดึกดำบรรพ์อายุกว่า 400 ล้านปี ในพื้นที่จากการพบฟอสซิล หรือซากดึกดำบรรพ์ อายุประมาณ 400 ล้านปี ในพื้นที่ บ้านดงสงัด ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งถือเป็นแหล่งฟอสซิลที่มีคุณค่าทางด้านการศึกษาความเป็นมาวิวัฒนาการของโลกนายธงชัย วงศ์เหรียญทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน นายเดชา สัตถาผล นายอำเภอแม่สะเรียง พร้อมด้วยนางเบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร อาจารย์พิเศษภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้สำรวจซากฟอสซิลที่พบ ซึ่งทางอำเภอแม่สะเรียงเตรียมผลักดันให้เป็นแหล่งเที่ยวแห่งใหม่ในอนาคตนางเบ็ญจวรรณเปิดเผยว่า หลังมีการสำรวจฟอสซิลที่พบว่าสิ่งที่พบมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งหินในพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะของแร่ดินแทรกอยู่ เป็นหินยุคออร์โดวิเชียน อายุประมาณ 400 ล้านปี ในอดีตที่ผ่านมาเชื่อได้ว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นทะเลมาก่อนเนื่องจากเบื้องต้นของการสำรวจพบฟอสซิลอย่างน้อย 3 ตัว เช่น ฟอสซิลฟองน้ำ หอย แอมโนโซปัส และรอยแยกของเปลือกโลก ทั้งนี้ แหล่งฟอสซิลพบแห่งนี้นับว่าเป็นแหล่งฟอสซิลที่น่าศึกษามาก คิดว่าในอนาคตน่าจะปรับปรุงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและศูนย์การเรียนรู้ด้านธรณีวิทยาแก่เด็กเยาวชนและผู้ที่สนใจ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านภาควิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดีอยู่ระหว่าง วัดพระธาตุจอมทองและวัดบ้านไร่ ไกล้กับบ้านยอดตำลึง แม่สะเรียง บริเวณยอดเขา ไกล้กับฟอสซิล เป็นสำนักสงฆ์ มีน้ำไหลตลอดปี เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การเตรียมตัวสำหรับการขื้นชม เส้นทางขื้นเขาสูงชัน ควรใช้รองเท้าผ้าใบ เตรียมน้ำดื่มและอาหาร ไม่ควรสูบบุหรี่หรือจุดไฟ ห้ามขีดเขียนรูปรอยเด็ดขาด ผู้ที่มีโรคความดันสูงและโรคหัวใจควรระวังเป็นพิเศษ ติดต่อสอบถาม http://ban-yodtumlueng.blogspot.com/
นายพิรุณ ห่อตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สาขาแม่สะเรียง เปิดเผยว่า ทางสำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 ได้จัดทำโครงการเส้นทางศึกษาธรรมชาติสู่อุทยานหินล้านปี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา 78 พรรษา 12 สิงหาคม เพื่อเป็นแหล่ง ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากการพบฟอสซิล หรือ ซากดึกดำบรรพ์ อายุประมาณ 400 ล้านปี ในพื้นที่บ้านดงสงัด ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งถือเป็นแหล่งฟอส ซิลที่มีคุณค่าทางด้านการศึกษา และเพื่อ เป็นการรองรับการเติบโตด้านการท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน
ทางด้าน อาจารย์เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร อาจารย์พิเศษภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยหลังมีการสำรวจฟอสซิลที่พบมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งหินในพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะของแร่ดินแทรกอยู่ เป็นหินยุคออร์โดวิเชียน อายุประมาณ 400 ล้านปี ในอดีตที่ผ่านมาเชื่อได้ว่าพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นทะเลมาก่อน.
ปัจจุบันมีการปรับปรุงเส้นทางไปชมอุทยานหิน แม่สะเรียง สามารถเดินทางได้สะดวก มีการปรับภูมิทัศน์ มีอาคาร หอชมวิว ห้องน้ำ ลานจอดรถ และทางเดินชมอุทยานหินโดยทั่วไป สอบถามข้อมูล พระประสิทธิ จิตตทนโต 083-7837079 หัวหน้าสำนักสงฆ์พระพุทธหัตถ์ บริเวณเดียวกับอุทยานหิน แม่สะเรียง

ประวัติการค้นพบอุทยานหิน แม่สะเรียง
พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโน เจ้าอาวาสวัดดอยเกิ้ง อ.แม่สะเรียง ได้ดำริจะทำทางขึ้น และบูรณะรอยพระพุทธหัตถ์ ปรากฎว่าเมื่อขึ้นไปดูสถานที่แล้ว เป็นรอยพระหัตถ์ปูน ซื่งชื่อรอยพระหัตถ์นี้เป็นชื่อใหม่ ชื่อเดิมคือรอยพระบาท จึงกระเทาะปูนออกปรากฏว่าเป็นรอยเท้าใหญ่คล้ายรอยเท้ามนุษย์ และหินใกล้รอบบริเวณรอยเท้า มีซากฟอสซิลฝังอยู่ในหิน จากการแนะนำของพระประสิทธิ์ จิตตทนโน เจ้าสำนักสงฆ์ จืงทราบว่ามีถ้ำและสิ่งสำคัญหลายอย่างบนดอยนี้ ทางอำเภอแม่สะเรียง นายเดชา สัตถาผล นายอำเภอแม่สะเรียง ดร.กมลไชย คชชา ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าที่ 16 และองค์การบริหารส่วยตำบลต่างๆในเขตอำเภอแม่สะเรียงได้ประสานงานให้นักธรณีวิทยา รองศาสตราจารย์ ดร.เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร อาจารย์พิเศษภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้มาทำการสำรวจและมีรายงานดังนี้
ข้อมูลโดยสังเขป ที่ตั้งพื้นที่ ตั้งอยู่ในเขตบ้านดงสงัด ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บริเวณสำนักสงฆ์ หลังหลังสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 แม่สะเรียง
ลักษณะสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ลักษณะของหินปูนที่พบเป็นหินปูนสกปรกคือมีเลนและชั้นของหินดินดานแทรกอยู่ในเนื้อหิน ในส่วนล่าง
ปริมาณของหินดานสีน้ำตาลจะมากจนเรียงตัวเป็นชั้นบางๆสลับกับหินปูนสีเทา มีลักษณะเนื้อหินคล้ายกับหินปูนอายุออร์โดวิเชียน ที่รู้จักในชื่อ
หินปูนทุ่งสง (Thung Song Gruop) ที่โผล่พ้นดินรูปร่างต่างๆด้านบนของหินโผล่ทุกก้อนจะพบลักษณะผิวขรุขระ เป็นหลุมตื้นๆ
เกิดจากฝนตก เม็ดฝนเจาะลงไปในเนื้อหินเรียกว่า Rain Pit บางตอนเห็นร่องรอยน้ำฝนชะลงมาแล้วหินปูนตกผลืกใหม่คล้ายเกล็ดปลาหรือสัตว์เลื้อยคลาน ในเนื้อหินที่แตกมีลักษณะเป็นแร่ ส่วนใหญ่เป็นแร่แคลไซต์ มีโคโลไมต์และแร่ที่มีเหล็กปนอยู่บ้าง ในพื้นที่พบ กุมภลักษณ์ Pot Hold และแนวแยกของหินที่มีรอยแยกขิงหินเป็นรอยกว้างประมาณ 1 เมตร ลึกประมาณ 5 เมตร มีก้อนหินขนาดใหญ่กลิ้งลงมาตามลาดเขามาปิดทับล่องนี้หลายส่วน หินปูนที่เรียงตัวกันเป็นชั้นหรือเส้นบางๆสลับกับหินดินดาน ถูกดันให้โค้งโก่งงอเป็นรูปทรงกลมยาวขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายเปลือกไม้ที่หุ้มต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่ คล้ายต้นไม้กลายเป็นหิน เมื่อมีแนวแตกมาตัดขวางแนวคล้ายลำต้น นับว่าเป็นปรากฏการธรรมชาติ เหมาะสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ เรื่องการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
พื้นที่ตั้งมีลักษณะหินที่แก่กว่าหินปูนยุคออร์โดวิเชียน (ordovician is geologic period and system,the second of six of the Paleozoic era,and cover the time between488.3+1.7 to 443.7+1.5 million year ago)และหินอายุคาร์บอนิเฟอรัส วางตัวอยู่อย่างผิดวิสัยบนหินอายุอ่อนยุค ไทรแอสสิกและเพอร์เมียน ซึ่งวางตัวตามแนวยาวของขอบแอ่งแม่สะเรียงทั้งทางด้านตะวันออกและด้านตะวันตก
จากผลของการแทรกตัวของหินแกรนิตเนื้อดอกอายุไทรแอสสิก
ในเวลาต่อมาในยุคเทอเชียรี การมุดตัวของทวีปอินเดียมาทางด้านตะวันออก และการมุดตัวของแผ่นทวีปมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้แผ่นดินตะวันออกเฉียงใต้ได้รับแรงกดดันเกิดเป็นทั้งการยกตัวของหินที่อยู่ส่วนล่าง และเกิดทรุดตัวเป็ยแอ่งยาวตามแนวเหนือ-ไต้จากผลของชุดของรอยเลื่อนปกติและรอยเลื่อนย้อนกลับ ทำให้เกิดลักษณะชุดการยกตัวและการทรุดตัว ในส่วนนี้ทำให้เกิดเทือกเขาก่อตัวเป็นแนวยาว เช่นแนวที่เป็นเทือกเขาที่เป็นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ แนวเทือกเขาอุทยานแห่งชาติเวียงโกสัย และแอ่งสะสมตะกอนขนาดใหญ่เช่นแอ่งพิษณุโลก แอ่งแพร่ แอ่งลำปาง แอ่งเชียงใหม่และแอ่งแม่ฮ่องสอนที่ยาวต่อเนื่องมาจนถึงอำเภอแม่สะเรียงและอำเภอสบเมย
นอกจากการเลื่อนย้อนกลับในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ที่ทำให้หินอายุ ออร์โดวิเชียนวางตัวบนหินอายุอ่อน แรงกดดันทำให้เกิดแนวคดโค้งเป็นแนวเกือบเหนือ-ใต้ตามแนวหลักของการวางตัวของเทือกเขาและแอ่งในภูมิภาค จากแรงกดดันในแนวตะวันออก-ตะวันตก แล้วยังมีรอยเลื่อนอีกชุดในแนวตะวันออก-ตะวันตก ที่ทำให้เกิดหน้าผาและตรอกหินแยกในแนวขวางสิศทางหลักเหนือ-ใต้ และโพรงถ้ำจากหินแยก หน้าผาหินวางอยู่บนหินกรวดมน หินดินดาน หินทราย หินปูน และหินเชิร์ต ยุคไทรแอสสิก ที่ขอบเชิงเขาด้านล่าง แต่ด้านบนจะผุพังเป็นดินหมดแล้วสิ่งที่ยังคงเหลือให้เห็นเป็นเนื้อดินที่มีลักษณะแตกต่างคือเนื้อดินเป็นกรดและมีสีแดง ต่างจากดินยุคออร์โดวิเชียน
ที่มีสีคล้ำดำมากกว่าดินที่เกิดจากหินอายุไทรแอสสิก
ลักษณะซากดึกดำบรรพ์ที่พบสามารถจำแนกเป็นกลุ่มต่างๆดังนี้คือ กลุ่มสาหร่าย กลุ่มไบโอซัว กลุ่มนอทิลอยด์ กลุ่มหอยฝาเดียวหรือสองฝา
กลุ่มคล้ายไทรโลไมต์

กุมภลักษณ์ การเกิดหลุมแอ่งหิน (Plunged Pool)
กุมภลักษณ์เป็นปรากฎการณ์ตามธรรมชาติที่เกิดตามบริเวณท้องห้วยที่เป็นผืนหินดาน
(bedrock) ความรุนแรงของกระแสน้ำจะพัดพาเอาเศษหิน กรวดหรือขี้หินแฮ (gravel)ตลอด
จนก้อนหินมนขนาดเล็ก (cobble) และก้อนหินมนขนาดใหญ่ (boulder) ถูกกระแสน้ำพัดพา
เอาหินและตะกอนต่าง ๆ(transportation) ไหลลงมาตามลำห้วยเมื่อกระแสน้ำเดินทางมาถึง
บริเวณที่เป็นผืนหินดานหรือพระลานหินจะเกิด “การประทะขัดสีหรือขัดถู” (Abrasion หรือ Corrasion) ทำให้หินดินดานถูกกัดกร่อนกลายเป็นหลุมเป็นบ่อจากนั้นหลุมบ่อเหล่านี้จะค่อย ๆ ถูกหินและตะกอนขัดสีจน
กลายเป็นแอ่งหินรูปจานขนาดเล็ก (plunged pool) ต่อไป
เที่ยวแม่สะเรียง ชิมปลาสาละวิน

อิ่มทุกเวลา เมื่อมาแม่สะเรียง
ตาม ความเข้าใจ ของนักท่องเที่ยว ว่าแม่สะเรียงเป็นเพียงเมืองผ่าน มิไช่เมืองพัก มักจะมีจุดมุ่งหมายที่อื่นโดยไม่แวะเที่ยวหรือรับประทานอาหาร ทั้งที่มีสถานที่ท่องเทืยว และที่พักมีบรรยากาศน่าสนใจหลายแห่ง
ซึ่งได้ แนะนำไว้ข้างต้นแล้ว ตอนนี้จะขอแนะนำอาหาร เมนูยอดนิยม ของคนแม่สะเรียงและผู้มาเยือน ของ บ้านยอดตำลึง แม่สะเรียง บริการอาหาร ที่พักโฮมสเตย์ และชาสมุนไพรสีทอง
มื้อเช้า เมนูรับทัวร์ 06.00น.ข้าว ต้มปลาสาละวิน ปรุงด้วยปลาสดๆร้อนๆ ไม่มีก้าง หรือจะเลือก หมูสับปรุงรส เนื้อไก่ฉีก กุ้งสด ปลาหมึกสด กาแฟ ขนม ชาสีทอง บริการตัวเอง ห้องน้ำสะอาด ที่จอดรถสะดวก
อาหารตามสั่ง อาหารกล่อง คณะทัวร์แจ้งล่วงหน้าจะสะดวก เหมาจ่ายคนละ 60บาท
อาหารกลาววัน สั่งตามเมนูหรือจัดเป็นชุดๆละ6คน อาหาร5-7อย่าง ขนมพื้นบ้านแม่สะเรียง ชาสีทอง มีห้องอาบน้ำบริการ เหมาจ่ายคนละ120-150บาท
อาหารเย็น เมนู ยอดนิยมตามสั่ง หรือจัดเป็นชุด อาหาร 5-7อย่าง ขนม-ผลไม้ ชาสีทอง ฟังเพลงจากอดีตนักร้องอาชีพ (ฟังเพลงจากลิ้งก์ข้างต้น) ร่วมสนุกกับลูกค้าที่พักโฮมสเตย์ การเต็นท์พักแรม ลอยโคมไฟ
บ้านยอดตำลึง แม่สะเรียง จัดทำเว็บไซต์แนะนำเมืองแม่สะเรียง สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ไหว้พระทำบุญและการกุศล ข้อมูลปลาสาละวิน นำเสนอแบบเอกชน ข้อมูลจากพื้นที่จริง (ดูจากลิ้งก์ข้างต้น)